วงจรแหล่งจ่ายไฟแบบเชิงเส้น
แหล่งจ่ายไฟแบบเชิงเส นแบบคงที่ด้านบวก
แหล่งจ่ายไฟแบบเชิงเสนนั้นเป็นแหล่งจ่ายที่เก่าแก่มาก ตั้งแต่ยุคแรกของวงจรอิเล็กทรอนิกส์จน มาถึงปัจจุบัน ซึ่งแหล่งจ่ายไฟแบบเชิงเส้นนั้นมีข้อดีคือ มีความทนทานสูง ราคาถูก และสามารถจ่าย กระแส และแรงดันได้สูง ไอซีรักษาระดับแรงดัน (IC Voltage regulators) คือไอซีที่ทําหนาที่รักษา ระดับแรงดันเอาต์พุตใหมีค่าคงที่ เมื่อไอซีมีแรงดันอินพุตเขามามากกว่าแรงดันเอาต์พุตที่ต้องการจ่าย ออกไป ตัวอย่างไอซีรักษาระดับแรงดัน เช่น IC 78xx IC 79xx และ ไอซีเบอร์อื่น ๆ ไอซีตระกูล 78xx คือไอซีที่ทําหนาที่รักษาระดับแรงดันไฟบวกให้คงที่ ซึ่งไอซีตระกูล 78xx จะมี 3 ขา ประกอบด้วย ขาอินพุต ขาเอาต์พุต และขากราวด์ รูปที่ 10.1 แสดงวงจรรักษาระดับแรงดัน เชิงเส้นไฟบวกที่ใชไอซี 78xx 2 ตัวเลขท้ายของไอซี 78xx จะบอกถึงคาแรงดันเอาต์พุต ตัวอยางเช้น 7805 แรงดันเอาต์พุตมีค่าเทากับ +5 V แรงดันเอาต์พุตของไอซีรักษาระดับแรงดันมีความผิดพลาด ± 4% ของแรงดันเอาต์พุตปกติ เช่น ไอซี 7805 จะมีแรงดันเอาต์พุตตั้งแต่ 4.8 V ถึง 5.2 V แต่ยังคง รักษาระดับแรงดันให้อยู่ในย่านนั้นได้ ตารางในรูปที่ 10.1 แสดงไอซีเบอร์ต่าง ๆ และค่าแรงดันเอาต์พุต ของไอซี รูปที่ 10.1 แสดงลักษณะของไอซี ซึ่งขาที่ 1 คือขาอินพุต ขาที่ 2 คือขากราวด์และขาที่ 3 คือ ขาเอาต์พุต รูปที่ 10.1 แสดงวงจรรักษาระดับแรงดันประกอบดวยไอซีรักษาระดับแรงดันไฟบวกคงที่แบบ 3 ขา เบอร์ 78xx และตัวเก็บประจุ ซึ่งตัวเก็บประจุภาคอินพุตและเอาต์พุตมีความจําเป็นอยางมาก เนื่องจากตัวเก็บประจุทําหน้าที่กรองสัญญาณเอซีแบบเต็มคลื่นหรือครึ่งคลื่นให็เป็นแรงดันดีซี และกรอง สัญญาณรบกวนที่ไมต้องการ
รูปที่ 10.1 ไอซีรักษาระดับแรงดันไฟบวกคงที่แบบ 3 ขา เบอร์ 78xx (Thomas L. Floyd)
ไอซีตระกูล 78xx สามารถจายกระแสได้ 1 A ซึ่งการใช้งานไอซีต้องติดตั้งแผ่นระบายความร้อน เพื่อให้
วงจรสามารถรักษาระดับแรงดันได้ แรงดันอินพุตจะต้องมากกว่าแรงดันเอาต์พุตประมาณ 2.5 V วงจรภายในไอซีจะต้องมีการป้องกันเมื่ออุณหภูมิสูงเกิน และจํากัดกระแสลัดวงจร การที่อุณหภูมิสูงมาก ขึ้นได้ก็ตอเมื่อกําลังสูญเสียภายในมีมากขึ้นเกินกว่าที่ออกแบบไว้ และอุณหภูมิของอุปกรณ์เกินกว่าค่าที่ ออกแบบไว้ การประยุกต์ใช้งานไอซีรักษาระดับแรงดันส่วนมากแล้วจะต้องติดแผนระบายความร้อนเพื่อ ป้องกันไม่ให้อุณหภูมิเกิน
แหล่งจ่ายไฟแบบเชิงเส้นแบบคงที่ด้านลบ (Thomas L. Floyd)
ไอซีตระกูล 79xx คือไอซีรักษาระดับแรงดันแบบ 3 ขา ซึ่งทําหนาที่รักษาระดับแรงดันเอาต์พุต ไฟลบคงที่ ไอซีตระกูลนี้จะกลับดานกับไอซีตระกูล 78xx และลักษณะการวางขาของอุปกรณ์จะแตกต่าง จากไอซีรักษาระดับแรงดันไฟบวก รูปที่ 10.2 แสดงคุณลักษณะมาตรฐานและหมายเลขอุปกรณ์ที่ สัมพันธ์กับแรงดันเอาต์พุตแต่ละค่า
รูปที่ 10.2 ไอซีรักษาระดับแรงดันไฟลบคงที่แบบ 3 ขา เบอร- 79xx (Thomas L. Floyd)
ตัวอย่างที่ 10.2 รูปที่ 10.3 แสดงวงจรแหล่งจ่ายไฟเลี้ยง แรงดันเอาต์พุตเท่ากับเท่าไร
ตอบ แรงดัน VOUT1 = 12 V และ แรงดัน VOUT2 = -9 V
ตัวอย่างที่ 10.3 รูปที่ 10.4 แสดงวงจรแหล่งจ่ายไฟเลี้ยง แรงดัน V1 และ V2 มีเท่ากับกี่ Vp และ วงจร ต้องใช้ไอซีเบอร์อะไร
วิธีทํา แรงดัน V1 และ V2 มีค่าเท่ากับ
Vp1 = Vp2 = 1.414 x V1,2 (10.1)
= 1.414 x 12 Vrms (10.2)
= 16.968 Vp
รูปที่ 10.3 วงจรแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงบวก และลบ
รูปที่ 10.4 วงจรแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงบวก และลบ
แหล่งจ่ายไฟบวกเชิงเส้นแบบปรับค่าได้ (Thomas L. Floyd)
ไอซี LM317 คือไอซีรักษาระดับแรงดันไฟบวกที่สามารถปรับแรงดันเอาต์พุตได้ ไอซี LM317 มี 3 ขา ประกอบด้วย ขาอินพุต ขาเอาต์พุต และขาปรับแรงดัน รูปที่ 10.5 แสดงวงจรรักษาระดับ แรงดันไฟบวกที่สามารถปรับแรงดันเอาต์พุตได้ ประกอบด้วย ไอซี LM317 ตัวเก็บประจุอินพุต เอาต์พุต และต่อระหว่างขาปรับแรงดันกับกราวด์ และตัวต้านทานมีค่าคงที่ต่ออนุกรมกับตัวต้านทานแบบปรับค่า ไดซึ่งทําหน้าที่ปรับแรงดันเอาต์พุตของวงจร ซึ่งไอซี LM317 จะมีขาปรับแรงดันซึ่งไม่ได้ต่อลงกราวด์ ขาปรับแรงดันจะถูกต่อกับตัวตานทานแบบปรับค่าได้ R2 เอาต์พุตของวงจรสามารถถูกปรับให้มีค่า แรงดัน 1.2 V ถึง 37 V ซึ่งขึ้นอยูกับตัวต้านทานปรับค่าได้ ไอซี LM317 สามารถจายกระแสใหกับโหลด ได้สูงสุดเท่ากับ 1.5 A
รูปที่ 10.5 วงจรแหล่งจ่ายไฟที่สามารถปรับแรงดันไฟบวกได้ด้วยไอซีเบอร์ LM317 (Thomas L. Floyd)
การทํางานของวงจรแหล่งจ่ายไฟที่สามารถปรับแรงดันได้ด้วยไอซีเบอร์ LM317 อธิบายได้ดังนี้ แรงดันที่ตกคร่อม R1 คือแรงดันอ้างอิง VREF มีค่าเท่ากับ 1.25 V ซึ่งเป็นแรงดันผลต่างคงที่ระหว่าง แรงดันเอาต์พุตกับแรงดันที่ขาปรับค่า กระแส IREF ไหลผ่าน R1 และ R2 ซึ่งมีค่าเท่ากับ
รูปที่ 10.6 วงจรแหล่งจ่ายไฟที่สามารถปรับแรงดันไฟบวกได้ดวยไอซีเบอร์ LM317 (Thomas L. Floyd)
วิธีทํา แรงดันอ้างอิง VREF เท่ากับ
กระแส IADJ ที่ไหลไอซี LM317 มีค่าประมาณ 50 µA ซึ่งไหลผ่าน R2 สมการความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันเอาต์พุตกับคาความต้านทาน R1 และ R2 สามารถเขียนไดดังนี้
เนื่องจากแรงดันเอาต์พุตเป็นฟังก์ชั่นกับ R1 และ R2 ดังนั้น เราสามารถกําหนดค่า R1 ให้คงที่ และปรับค้า R2
ตัวอย่างที่ 10.4 ทําการหาคาแรงดันเอาต์พุตสูงสุด และต่ํ่าสุดของวงจรในรูปที่ 10.6 กําหนดให้ IADJ = 50 µA
วิธีทํา แรงดันอ้างอิง VREF เท่ากับ
10.4 แหล่งจ่ายไฟลบเชิงเส้นแบบปรับค่าได้
ไอซี LM337 คือไอซีรักษาระดับแรงดันไฟลบที่สามารถปรับแรงดันเอาต์พุตได้ ซึ่งสามารถ นําไปใช้รวมกับไอซี LM317 และหลักการทํางานของวงจรเหมือนกับไอซี LM317 รูปที่ 10.7 แสดงวงจร รักษาระดับแรงดันไฟลบที่สามารถปรับแรงดันเอาต์พุตได้ ประกอบด้วย ไอซี LM337 ตัวเก็บประจุ อินพุต เอาต์พุต และตอระหวางขาปรับแรงดันกับกราวด์ และตัวต้านทานมีค่าคงที่ต่ออนุกรมกับตัว ต้านทานแบบปรับค่าไดซึ่งทําหนาที่ปรับแรงดันเอาต์พุตของวงจร ซึ่งไอซี LM317 จะมีขาปรับแรงดันซึ่ง ไม่ได้ต่อลงกราวด์ ขาปรับแรงดันจะถูกต่อกับตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ R2 แรงดันเอาต์พุตของวงจร สามารถถูกปรับให้มีค่าแรงดัน -1.2 V ถึง -37 V ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวต้านทานปรับค่าได้ ตัวเก็บประจุที่ต่อ เพิ่มเข้าไปจะไม่มีผลต่อการทํางานของไอซี
รูปที่ 10.7 วงจรแหล่งจ่ายไฟที่สามารถปรับแรงดันไฟลบได้ด้วยไอซีเบอร์ LM337 (Thomas L. Floyd)
10.5 การเพิ่มกระแสเอาต์พุตด้วยการต่อทรานซิสเตอร์ภายนอก
เนื่องจากไอซีรักษาระดับแรงดันมีข้อจํากัดเรื่องความสามารถในการจ่ายกระแสให้กับโหลด เช่น ไอซีรักษาระดับแรงดัน 78xx ที่สามารถจ่ายกระแสได้สูงสุดเท่ากับ 1.3 A ถ้าโหลดต้องการกระแสที่มาก ขึ้น ไอซีจะเกิดความร้อนเนื่องจากจ่ายกระแสเกิน และไอซีจะหยุดทํางาน จากปัญหาดังกล่าว การนําวงจรแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงด้วยไอซีรักษาระดับแรงดันตระกูล 78xx ต่อ ประยุกต์ใช้งานให้มีกระแสเอาต์พุตไหลมากกว่าที่ไอซี 78xx จะจ่ายให้กับโหลดได้ สามารถทําได้ด้วย วิธีการต่อทรานซิสเตอร์ภายนอกเพื่อเพิ่มกระแสเอาต์พุตที่ต้องการจะจ่ายให้กับโหลด รูปที่ 10.8 แสดง ไอซีรักษาระดับแรงดันคงที่เบอร์ 78xx ซึ่งต่อทรานซิสเตอร์ภายนอกเพื่อเพิ่มกําลังสูญเสียให้กับวงจร
รูปที่ 10.8 ไอซีรักษาระดับแรงดันคงที่เบอร์ 78xx ซึ่งต่อทรานซิสเตอร์ภายนอกเพื่อเพิ่มกําลังสูญเสีย ให้กับวงจร (Thomas L. Floyd)
รูปที่ 10.9 แสดงลักษณะการทํางานของวงจรแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงที่ใชไอซีรักษาระดับแรงดันคงที่ เบอร์ 78xx ซึ่งต่อทรานซิสเตอร์ภายนอกเพื่อเพิ่มกําลังสูญเสียใหกับวงจรแหล่งจ่ายไฟเลี้ยง รูปที่ 10.9 (ก) แสดงลักษณะการทํางานของวงจรขณะทรานซิสเตอร์ Qext ไม่ทํางาน กระแสภายนอกจะไหล ซึ่งไหลผ่านทรานซิสเตอร์ Qext ก็ด้วยการตรวจจับด้วยกระแสที่ไหลผ่านตัวต้านทาน Rext กล่าวคือ เมื่อมี กระแสที่ไหลผ่าน Rext จะเกิดแรงดันตกคร่อมระหว่างขาเบสกับอีมิเตอร์หรือแรงดัน VBE ส่งผลให้ ทรานซิสเตอร์ Qext เริ่มนํากระแส ถ้ากระแสที่ไหลผ่าน Rext มีค่าน้อย กล่าวคือ เมื่อกระแสที่ไหลผ่าน Rext มีค่าน้อย ส่งผลใหแรงดัน VBE มีค่าน้อยกว่า 0.7 V ทําให้ทรานซิสเตอร์ Qext จะไม่ทํางาน และวงจร รักษาระดับแรงดันทํางานตามปกติ ถ้ากําหนดให้ Imax คือกระแสที่ไหลผ่านไอซี 78xx สูงสุด ค่าความ ต้านทาน Rext มีค่าเท่ากับ
รูปที่ 10.9 (ข) แสดงลักษณะการทํางานของวงจรขณะทรานซิสเตอร์ Qext ทํางาน เมื่อกระแสที่ ไหลทําใหเกิดแรงดันอย่างน้อย 0.7 V ตกคร่อม Rext ส่งผลให้ทรานซิสเตอร์ Qext ทํางานและกระแส จํานวนมาก Imax ไหลผ่านทรานซิสเตอร์ ทรานซิสเตอร์จะนํากระแสมากหรือน้อยขึ้นอยูกับความต้องการ กระแสของโหลด เช่น ถ้าโหลดต้องการกระแส 3 A และ Imax ถูกออกแบบให้มีค่าเท่ากับ 1 A กระแส จะไหลผ่านทรานซิสเตอร์ภายนอกเท่ากับ 2 A ซึ่งมีค่ามากกว่ากระแสที่ไอซี 78xx สามารถจ่ายได้
รูปที่ 10.9 ลักษณะการไหลของกระแส (ก) กระแสอินพุตไหลเข้า และ (ข) กระแสอินพุตไหลออก (Thomas L. Floyd)
ตัวอยางที่ 10.5 ถ้ากระแสสูงสุดที่ไหลผ่านไอซีรักษาระดับแรงดันเท่ากับ 700 mA ค่าความต้านทาน Rext มีค่าเท่าไร
วิธีทํา
ทรานซิสเตอร์กําลังจําเป็นต้องติดฮีตซิงก์เพื่อระบายความร้อน ค่ากําลังสูงสุดที่เกิดขึ้นที่ตัว ทรานซิสเตอร์มีค่าเท่ากับ
ตัวอย่างที่ 10.6 จากวงจรในรูปที่ 10.9 อัตรากําลังสูงสุดของทรานซิสเตอร์ที่ต่อกับไอซีรักษาระดับ แรงดัน 7824 มีค่าเท่ากับเท่าไร กําหนดใหแรงดันอินพุตเท่ากับ 30 V ค่าความต้านทานโหลดเท่ากับ 10 Ω กระแสที่ไหลผ่านทรานซิสเตอร์สูงสุดเท่ากับ 700 mA
วิธีทํา กระแสที่ไหลผ่านโหลดเท่ากับ
ที่มา
http://pws.npru.ac.th/thawatchait/data/files/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%2010%20%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99%202.pdf
My Testimony Hello everyone. Am here to testify how I got my loan from Mr. Benjamin after I applied several times from various loan lenders who promised to help but they never gave me the loan. Until a friend of mine introduced me to Mr.Benjamin Lee promised to help me and indeed he did as he promised without any form of delay.I never thought there are still reliable loan lenders until I met Mr. Benjamin Lee, who indeed helped with the loan and changed my belief. I don't know if you are in any way in need of a genuine and urgent loan, Be free to contact Mr. Benjamin via WhatsApp +1-989-394-3740 and his email: 247officedept@gmail.com thank you.
ตอบลบSia Titanium - TiGanium-Arts - Titanium Arts
ตอบลบShop Sia Titanium does titanium have nickel in it - TiGanium-Arts - raw titanium Titanium Arts online and on the website www.titaniumarts.com. titanium water bottle titanium guitar chords www.titaniumarts.com. titanium bar